วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี/นวัตกรรมในท้องถิ่นที่สนใจ


ชื่อ เครื่องกันลักน้ำนา
        ในการเอาน้ำเข้านา จะเป็นการแบ่งเฉลี่ยน้ำที่ไหลมาตามลำเหมือง ตามปากเหมืองให้ไหลเข้าพื้นที่นาของแต่ละแปลง แต่อาจจะมีเจ้าของนาบางแปลงเห็นแก่ตัว ปิดปากเหมือง เพื่อให้น้ำเข้านาของตนเพียงผู้เดียวทำให้นาข้าวของบุคคลอื่นเสียหายได้ เครื่องมือดักกันขโมยน้ำเข้านาจึงเป็นเครื่องมือที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น
ลักษณะและวิธีใช้
 เป็นเครื่องมือที่ทำจากไม้ไผ่ ชิ้นที่หนึ่งเป็นท่อนยาวเอาวางพาดขวางลำเหมืองไว้ โดยบากเจาะเพื่อให้เกิดเสียงดังเวลาเคาะ ชิ้นที่ ๒-๓ ใช้เป็นเสาหลักบากให้เป็นร่องสำหรับรองรับคานกระเดื่อง ปักดินให้แน่นอยู่คนละฟากลำเหมืองคู่กัน ชิ้นที่ ๔ เป็นไม้ทะลุปล้องให้น้ำไหลถึงกัน เจาะรูทะลุกลางปล้อง ค่อนไปทางก้นกระบอกเล็กน้อยแล้วสอดด้วยไม้ไผ่ เพื่อนำไปวางตามยาวลำเหมือง โดยให้ปลายข้างปากกระบอกวางพาดไม้ชิ้นที่ ๑ ปากกระบอกจมน้ำเล็กน้อย และไม้ที่สอดรูที่กลางปล้องคล้ายครกกระเดื่องให้วางพาดบนง่ามไม้ชิ้นที่ ๒ และ ๓ เมื่อน้ำไหลผ่านปากกระบอกเข้าไปอยู่ที่ก้นกระบอกจะหนักกว่าทางปากกระบอกก็จะถ่วงลงน้ำก็จะหกไหลออก และจะเบาทางปากกระบอกก็จะฟาดลงไปเคาะกับไม้ชิ้นที่ ๑ เกิดเสียงดัง โป๊ก โป็ก เป็นระยะสม่ำเสมอ หากน้ำเข้านาจุดใดที่วางเครื่องนี้ไว้ ยังได้ยินเสียง โป๊ก โป๊ก ติดต่อกันสม่ำเสมอก็แสดงให้ทราบว่าน้ำยังไหลเข้านาอยู่สม่ำเสมอ
ประโยชน์
 ใช้เป็นเครื่องดักฟังการลัก (ขโมย) น้ำเข้านา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น